เมนู

ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอยู่ด้วยประการฉะนี้ได้อย่างใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือกัสสปเห็นหมู่สัตว์
ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.
[511] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
ทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอย่างนั้นได้เหมือนกัน.
จบฌานาภิญญาสูตรที่ 9

อรรถกถาฌานาภิญญาสูตรที่ 9



พึงทราบวินิจฉัยในณานาภิญญาสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ยาวเทว อากงฺขามิ ได้แก่ เท่าที่เราปรารถนา. ส่วน
ต่อแต่นี้ เรากล่าวรูปาวจรฌาน 4 โดยนัยเป็นต้นว่า วิวิจฺเจว
กาเมหิ
ดังนี้. อรูปสมบัติ 4 โดยนัยเป็นต้นว่า สพฺพโส รูปสญฺญานํ
สมติกฺกมา
ดังนี้. นิโรธสมาบัติอย่างนี้ว่า สพฺพโส เนวสญฺญา-
นาสญฺญายตนํ สมติกฺกมฺม สญฺญาเวทยิตนิโรธํ
ดังนี้. และกล่าว
อภิญญาเป็นโลกีย์ 5 โดยนัยเป็นต้นว่า อเนกวิหิตํ อิทฺธิวิธํ ดังนี้.

ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทที่พึงกล่าวทั้งหมดนั้น ให้พิสดารในวิสุทธิ-
มรรค พร้อมด้วยพรรณนาตามลำดับบท และวิธีภาวนา. บทว่า
อาสวานํ ขยา ได้แก่ เพราะอาสวะสิ้นไป. บทว่า อนาสวํ ได้แก่
ไม่เป็นปัจจัยของอาสวะ. บทว่า โจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ สมาธิในอรหัตผล.
บทว่า ปญฺญาวิมุตฺตึ ได้แก่ ปัญญาในอรหัตผล.
จบอรรถกถาฌานาภิญญาสูตรที่ 9

10. ภิกขุนูปัสสยสูตร



ว่าด้วยพระอานนท์นิมนต์พระมหากัสสปไปสำนักภิกษุณี



[512] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระอานนท์
นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหา
แล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่าน
ไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด ท่านพระมหากัสสปจึงกล่าวว่า ท่าน
ไปเถิดอานนท์ผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมาก แม้ครั้งที่ 2
ท่านพระอานนท์ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์
ท่านไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด ท่านพระมหากัสสปก็กล่าวว่า
ท่านไปเถิดอานนท์ผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมาก แม้ครั้งที่ 3
ท่านพระอานนท์ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์
ท่านไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด.